สถานที่ตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขล้อ ตั้งอยู่ริมถนนทางหลวงชนบทหมายเลข อย. ๓๐๑๓ หมู่ที่ ๒ ตำบลบ้านขล้อ อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอบางปะหัน ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร ยังมีสภาตำบลบางเพลิง และ สภาตำบลตาลเอน ยุบมารวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขล้อ มีเนื้อที่โดยรวมประมาณ ๑๙.๘๒ ตารางกิโลเมตร ( ๑๓,๗๐๓.๑๐ ไร่) อาณาเขต
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลกระทุ่ม ตำบลบางนา อำเภอมหาราช ตำบลบ้านหลวง อำเภอดอนพุด
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลบางระกำ อำเภอนครหลวง ตำบลเสาธง อำเภอบางปะหัน
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลวังแดง อำเภอท่าเรือ ตำบลพระนอน ตำบลแม่ลา ตำบลบางพระครู อำเภอนครหลวง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลเสาธง ตำบลทางกลาง อำเภอบางปะหัน
ตำบลบ้านขล้อ มีพื้นที่ทั้งหมด 8.69 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 5,432 สภาพพื้นที่โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม มีแหล่งน้ำธรรมชาติ คือ คลองบางพระครู ไหล่ผ่านกลางตำบล เชื่อมระหว่างแม่น้ำลพบุรี อำเภอมหาราช กับแม่น้ำป่าสัก อำเภอนครหลวง
ตำบลตาลเอน มีพื้นที่ทั้งหมด 5.17 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 3,710 ไร่ เป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การประกอบอาชีพด้านการเกษตรกรรม มีคลองบางพระครู ไหลผ่านกลางพื้นที่ตำบลตาลเอน
ตำบลบางเพลิง มีพื้นที่ทั้งหมด 5.96 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 4,561.10 ไร่ เป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง มักเป็นที่กักเก็บและระบายน้ำ เดิมน้ำจะท่วมเป็นประจำปี แต่ปัจจุบันมีการสร้างคันกั้นน้ำเพื่อประโยชน์ด้านอุตสาหกรรม ทำให้เกิดภาวะน้ำไม่ท่วมเหมือนแต่ก่อนภูมิประเทศลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีแหล่งน้ำธรรมชาติ คือ คลองบางพระครู ไหลผ่านกลางตำบลเชื่อมระหว่างแม่น้ำลพบุรีอำเภอมหาราช กับแม่น้ำป่าสักอำเภอนครหลวง
จำนวนหมู่บ้าน ๑๑ หมู่
– จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล เต็มทั้งหมู่บ้าน ๑๑ หมู่ ได้แก่
ตำบลบ้านขล้อ
๑. หมู่ที่ ๑ บ้านท้องคุ้ง
๒. หมู่ที่ ๒ บ้านขล้อ
๓. หมู่ที่ ๓ บ้านโคกกะยอ
๔. หมู่ที่ ๔ บ้านโคกกะบัง
๕. หมู่ที่ ๕ บ้านปากทางลัด
ตำบลบางเพลิง
๖. หมู่ที่ ๑ บ้านแก้วตา
๗. หมู่ที่ ๒ บ้านโคก
๘. หมู่ที่ ๓ บ้านบางเพลิง
ตำบลตาลเอน
๙. หมู่ที่ ๑ บ้านโรง
๑๐. หมู่ที่ ๒ บ้านใหม่
๑๑. หมู่ที่ ๓ บ้านตาลเอน
ประชากร
จากข้อมูลและสถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร จนถึงวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
ตำบลบ้านขล้อ ตำบลตาลเอน และตำบลบางเพลิง มีจำนวนประชากรโดยรวมทั้งสิ้น 4518 คน แยกเป็นชาย 2,161 คน หญิง 2,357 คน ความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ย 234.66 คน / ตารางกิโลเมตร รวมจำนวน ชาย 2,234 หญิง 2,417 รวม 4,651
สภาพทางเศรษฐกิจ
อาชีพ
ประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพ
– เกษตรกร (ทำนา) รองลงมาอาชีพรับจ้าง ค้าขาย รับราชการ อุตสาหกรรมในครัวเรือน ตามลำดับ
– หน่วยธุรกิจในเขต องค์การบริหารส่วนตำบล
– ปั๊มน้ำมันหลอด 5 แห่ง
– โรงสีข้าว 1 แห่ง
– ร้านอาหาร,ขายของชำ 38 แห่ง
– ร้านตัดผมชาย 1 แห่ง
สภาพทางสังคม
การศึกษา
– โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 4 แห่ง
– โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง
– ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 3 แห่ง
สถาบันและองค์กรทางศาสนา
– วัด จำนวน 4 แห่ง
– มัสยิด จำนวน – แห่ง
สาธารณสุข
– สถานีอนามัยประจำตำบล จำนวน 3 แห่ง
– อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100
แหล่งน้ำธรรมชาติ
– ลำน้ำ , ลำห้วย จำนวน 1 สาย
– แม่น้ำ จำนวน 1 สาย
การบริการพื้นฐาน
การคมนาคม
การคมนาคมทางบกโดยรถยนต์ระหว่างตำบลกับอำเภอพระนครศรีอยุธยา ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร โดยมีรถประจำทาง
(รถสองแถวและรถตุ๊กรับจ้าง) ผ่านพื้นที่ตำบลใช้เวลาเดินทางประมาณ 25 นาที หรือการคมนาคมทางน้ำ โดยเรือโดยสารข้ามฝาก ใช้เวลาเพียง 5 นาที